วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ศัพท์กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

<ข้อมูลนี้สรุปมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายการค้าระหว่างประเทศจัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภา 2547 และ ติวสอบอัยการผู้ช่วยของนิติธนิต 2551 >
Incoterm 2000
Ex work
Term F
FAS:Free Alongside Ship (named port of shipment)  ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าเทียบข้างเรือที่ทำการขนส่งตามที่ผู้ซื้อกำหนด สถานที่ทำการขนถ่ายสินค้า
 ผู้ขายมีหน้าที่ขนส่งสินค้าผ่านพิธีการศุลกากรแล้วเทียบข้างเรือ ผู้ซื้อรับผิดชอบการขนขึ้น กรณีเรือสินค้ามี 
 ขนาดใหญ่ไม่อาจเทียบท่า ผู้ขายต้องจัดจ้างเรือลำเลียง
FCA:Free Carrier (named port of shipment)      หลักการสำคัญเหมือน FOB กล่าวคือ ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าผ่านพิธีการส่งออกเรียบร้อยแก่ผู้ซื้อแต่เปลี่ยนสถานที่ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่ง ณ จุดที่กำหนด ส่งมอบ ณ สถานที่ของผู้ขาย ๆ  มีหน้าที่ขนขึ้นหากส่งมอบที่อื่นผู้ขายไม่มีหน้าที่ขนลง ผู้ขายไม่มีหน้าที่ทำสัญญารับประกันภัย
หน้าที่ผู้ขายจะถือเป็นการส่งมอบเสร็จสมบูรณ์ และความเสี่ยงภัยจะโอนเมื่อส่งมอบเสร็จ
                1.ส่งมอบ ณ สถานที่ของผู้ขายสินค้าได้บรรทุกบนยานพาหนะซึ่งผู้ซื้อเตรียมมา
                2.ส่งมอบสินค้า ณ สถานที่อื่นๆ เมื่อสินค้านั่นตกอยู่ในเงื้อมมือของผู้ขนส่งหรือตัวแทนผู้ซื้อ
                3.สถานที่ส่งมอบหากสามารถส่งได้หลายจุดมิได้ระบุเจาะจ ส่ง ณ จุดที่ผู้ขายเลือกส่งมอบ
FOB : Free On Board            ความเสี่ยงภัยโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อสินค้าผ่านกาบเรือ ผู้ขายมีหน้าที่บรรทุกสินค้าขึ้นเรือที่ผู้ซื้อกำหนด ณ ท่าเรือที่กำหนดผู้ขายรับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวแก่สินค้าผ่านกาบเรือ รับภาระภาษีศุลกากรส่งออก
                FOB – Classic FOB contract ผู้ซื้อมีหน้าที่จัดหาเรือแต่ผู้ขายมีหน้าที่ทำสัญญารับขนสินค้ากับผู้ขนส่ง
Term C

CIF:Cost Insurance and Freight หน้าที่ผู้ขาย จัดหาประกัน , ส่งมอบสินค้า ,ทำสัญญารับขนสินค้าผ่านทางปกติไปยังท่าเรือปลายทาง , รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด , ถ้าผู้ซื้อร้องขอต้องจัดหาประกันภัยสำหรับภัยสงคราม การจราจล ,จัดหาใบอนุญาตส่งออก ,หน้าที่ผู้ขายสิ้นสุดลงเมื่อส่งมอบสินค้าลงเรือให้อยู่ในความครอบครองของผู้ขนส่งนับแต่นั้นกรรมสิทธิในสินค้าตกไปยังผู้ซื้อทันที ส่งมอบสินค้าโดยถูกต้องครบถ้วนเมื่อสินค้าได้ถูกนำข้ามพ้นกราบเรือ ณ ท่าเรือที่ส่งมอบสินค้า   ทั้ง CIF และ CFRผู้ขายมีหน้าที่เข้าทำสัญญาขนส่ง ในIncotermระบุว่าในการทำสัญญากับผู้ขนส่งหน้าที่ของผู้ขายคือจะต้องจัดให้ผู้ขนส่งสินค้าโดยเส้นทางปกติ
                หน้าที่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อจัดหาใบอนุญาตนำเข้า
                CIF afloat – การเสนอสินค้าที่บรรทุกลงเรือขณะเรือลอยลำในทะเล คู่สัญญาควรทำการตกลงโดยชัดแจ้งด้วยว่าจะให้ความเสี่ยงภัยโอนมายังผู้ซื้อเมื่อใด
                CIF and CC = Commission สัญญานี้ผู้ซื้อรับภาระในค่านายหน้าด้วยมักใช้กรณีผู้ขายเป็นนายหน้า
                CIF and EE – Exchange มีสองความหมายคือ 1.การรวมถึงค่าธรรมเนียมธนาคาร หรือ 2.การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนไปกระทบราคา
                CIF and II  - กรณีผู้ซื้อขอยืดเวลาชำระราคาออกไปต้องรับชำระดอกเบี้ย
CFR: Cost and Freight (named port of destination)  – สัญญาซื้อขายรวมค่าระวางขนส่งสินค้าจนถึงปลายทาง ผู้ขายมีหน้าที่จัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือปลายทางโดยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทำสัญญารับขนกับผู้ขนส่งด้วย แต่ไม่มีภาระในการจัดประกันภัยสินค้าซึ่งเป็นหน้าที่ผู้ซื้อ หน้าที่อื่นๆ อนึ่งความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อสินค้าข้ามพ้นกราบเรือเช่นเดียวกับ FOB และCIF
                การส่งมอบสินค้าถูกต้องครบถ้วนเมื่อสินค้าข้ามพ้นกราบเรือ ณ ท่าเรือที่ส่งสินค้า
CIP: Carriage and Insurance Paid to (named place of destination) ผู้ขายมีหน้าที่จัดหายานพาหนะในการขนส่งโดยค่าใช้จ่ายของตนเองและจัดหากรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายภาระความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อส่งมอบสินค้าที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งแต่ไม่ได้กำหนดความสมบูรณ์ของการส่งมอบเหมือน FCA กรณีมีผู้ขนส่งหลายรายให้ส่งแก่ผู้ขนส่งรายแรกแล้วสำหรับผู้ซื้อต้องรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการขนส่งและรับมอบสินค้าเมื่อถึงปลายทาง

CPT: Carriage Paid to (named place of destination) สัญญา CPT มีลักษณะเช่นเดียวกับ CFR คือผู้ขายมีหน้าที่จัดหาสินค้าและจัดส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่กำหนด โดยค่าใช้จ่ายของตนเองแต่ไม่ต้องจัดหากรมธรรม์ประกันภัย ส่วนกฎเกณฑ์ต่างๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับ CIP
                                ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ในการส่งมอบสินค้าครบเรียบร้อยเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่งที่ผู้ขายกำหนด แต่ผุ้ขายต้องเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางที่กำหนด ผู้ซื้อรับความเสี่ยงภัยและออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งแล้ว ผู้ขายมีหน้าที่ทำสัญญารับรับขนกับผู้ขนส่งจนถึงปลายทาง ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขาจยไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งที่ต้นทางยังไม่ต้องนำขึ้นบรรทุกลงเรือเพียงแต่ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของผู้ส่งเท่านั้น
Term D
                การซื้อขายในเทมอ D ทุกเทมอ ผู้ขายมีหน้าที่จัดหายานพาหนะและส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ณ ชายแดนหรือในประเทศของผู้ซื้อ
DES:Delivered Ex Ship (named port of destination) การซื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ขายมีหน้าที่ส่งอมอบสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อในขณะที่สินค้ายังคงอยู่ในระวางเรือ ณ ท่าเรือปลายทางซึ่งตามปกติใช้สำหรับการส่งสินค้านั้นโดยผู้ขายต้องรับภาระในค่าขนส่งสินค้า โดยผู้ขายรับภาระในค่าขนส่งสินค้า ส่วนผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าเมื่อสินค้านั้นได้ส่งมอบแก่ตนในเวลาและท่าเรือที่กำหนด และรับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขึ้นฝั่งรวมทั้งค่าภาษีนำเข้า
                                สัญญาDESไม่มีเอกสารเข้ามามีบทบาทในสัญญา แต่เป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องจัดหาใบสั่งปล่อยสินค้า(Delivery Order) และ/หรือเอกสารการขนส่งต่างๆให้แก่ผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถรับสินค้าจากผู้ขนส่ง ณ ท่าเรือปลายทางได้กรณีที่สินค้าสูญหายผู้ซื้อไม่มีหน้าที่ต้องชำระราคา การที่ผู้ขายส่งมอบใบตราส่งแก่ผู้ซื้อก็มิได้กระทำโดยเจตนาเพื่อให้กรรมสิทธิ์ในสินค้าโอนไปยังผู้ซื้อ กรรมสิทธิ์ในสินค้าและความเสี่ยงภัยจะโอนเมื่อได้มีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อเมื่อเรือมาถึงท่าที่กำหนดแล้ว ผู้ขายไม่มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยสินค้า และหากผู้ขายทำประกันภัยสินค้าเฉพาะผู้ขายเท่านั้นที่มีสิทธิดำเนินคดีกับผู้รับประกันภัยได้  วิธีการชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C)ไม่นำมาใช้ในการซื้อขายแบบ DES

DEQ:Delivered Ex Quay (named port of destination) ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อที่ท่าเรือปลายทางที่กำหนด ผู้ขายต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงภัยในการนำสินค้าไปยังท่าเรือปลายทางที่กำหนด ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการผ่านพิธีการทางศุลกากร และค่าภาษี อากร รวมทั้งค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อการนำสินค้าเข้าและรับภาระค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการขนส่งจากท่าเรือไปถึงจุดหมายปลายทางบนแผ่นดิน
DAF:Delivered At Frontier (named point at frontier) ผู้ขายมีหน้าที่จัดส่งสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ ณ ที่เพื่อส่งมอบสินค้าไว้ด้วย ผู้ขายมีหน้าที่จัดส่งสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ ณ ชายแดนที่กำหนด โดยไม่ต้องขนลงจากยานพาหฯและรับผิดในค่าภาษีและใบอนุญาตส่งออก ส่วนผู้ซื้อต้องรับมอบสินค้า ชำระราคา และรับภาระในค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนำเข้าและชำระภาษีขาเข้า กรรมสิทธิ์ในสินค้าและความเสี่ยงภัยโอนเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว แต่ในหนังสือรวมคำบรรยายเนติฯกล่าวว่า ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ณ จุดที่สินค้าผ่านพิธีการศุลกากรส่งออกแล้วนำรถบรรทุกไปจอดรอที่ด่านศุลกากรประเทศผู้ซื้อ
DDP:Delivered Duty Paid (named place of destination) ผู้ขายต้องรับภาระและความเสี่ยงภัยในตัวสินค้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งทั้งหมดจนกระทั่งได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ณ สถานที่ที่กำหนดโดยไม่ต้องขนลงจากยานพาหนะ รวมทั้งค่าภาษีนำเข้า ค่าขนส่งทางบกในประเทศของผู้ซื้อและการจัดหาใบอนุญาตนำเข้าด้วย ทั้งนี้เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ซื้อไม่มีหน้าที่ชำระราคาจนกว่าจะได้รับมอบสินค้า
                                หนังสือรวมคำบรรยายเนติฯกล่าวว่า DDP หมายถึงข้อตกลงในสัญญาซื้อขายที่ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ในการส่งมอบสินค้าโดยครบถ้วนเรียบร้อยเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อโดยผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อการนำเข้าแล้วแต่ยังไม่ขนถ่ายสินค้าออกจากยานพาหนะที่ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ณ สถานที่ในประเทศของผู้ซื้อผู้ขายต้องรับผิดชอบออกจากค่าใช้จ่ายแลรับความเสี่ยงภัยในการดำเนินการนำสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางรวมทั้งค่าอากรเพื่อการนำเข้าประเทศปลายทาง จะเห็นได้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ขนส่งสินค้าตั้งแต่ต้นทางดำเนินพิธีการศุลกากรในประเทศผู้ขายอาจจะข้ามน้ำข้ามทะเลหรือขนส่งโดยรถบรรทุกก็ได้หรืออาจใช้ยานพาหนะที่ขนส่งตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไป(Multimodal Transport) จนถึงโรงงานหรือสถานที่ของผู้ซื้อโดยที่ไม่ต้องขนถ่ายสินค้าออกจากยานพาหนะ ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ณ จุดที่ยานพาหนะมาถึงหน้าโรงงานหรือสถานที่ของผู้ซื้อ
DDU:Delivered Duty Unpaid (named place of destination) ผู้ซื้อและผู้ขายมีหน้าที่เช่นเดียวกับ DDP ยกเว้นภาระหน้าที่ในการจัดการนำสินค้าเข้ารวมทั้งค่าภาษีตกเป็นของผู้ซื้อ







Term
ความเสี่ยงภัยและการส่งมอบ
หน้าที่ผู้ซื้อ
หน้าที่ผู้ขาย
F
FAS

สินค้าเทียบข้างเรือที่ผู้ซื้อกำหนด


FCA
ส่งมอบแก่ผู้ขนส่ง ณ จุดที่กำหนด


FOB
ข้ามพ้นกราบเรือ


C
CIF

ข้ามพ้นกราบเรือ


CFR
ข้ามพ้นกราบเรือ


CIP
ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในความดูแลผู้ขนส่ง


CPT
ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งโดยยังไม่ต้องบรรทุกของลงเรือ


D
DES

ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อเมื่อเรือมาถึงท่าที่กำหนดโดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าออกจากเรือ


DEQ
ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อที่ท่าปลายทางที่กำหนดโดยสินค้ายังไม่ต้องผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้าแต่ได้ขนถ่ายลงที่ท่าเรือปลายทางแล้ว


DAF
ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ  ณ จุดทิ่สินค้าผ่านพิธีการศุลกากรส่งออกแล้วนำรถบรรทุกไปจอดรอที่ด่านศุลกากรผู้ซื้อ


DDP
ผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อการนำสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางรวมทั้งค่าอากรเพื่อการนำเข้าประเทศปลายทาง


DDU








ข้อตกลงระหว่างผู้ส่งกับผู้ขนส่งอาจเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
1.LCL/LCL หรือ CFH/CFH หมายความว่า ที่ท่าเรือต้นทางผู้ขนส่งจะนำสินค้า มาบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์เอง จากนั้นจะทำการส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปยังจุดหมายปลายทาง เมื่อถึงท่าเรือปลายทางผู้ขนส่งจะนำตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นจากเรือ และเปิดตู้คอนเทนเนอร์นำสินค้าเข้าเก็บไว้ในโกดังสินค้าเพื่อรอให้ผู้รับตราส่งมารับของ
                2.LCL/FCL หรือ CFH/CY หมายความว่า ที่ท่าเรือต้นทางผู้ขนส่งจะนำสินค้าไปบรรจุที่ตู้คอนเทนเนอร์
และส่งของไปท่าเรือปลายทาง เมื่อถึงท่าเรือปลายทางจะขนตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นจากเรือและให้ผู้รับตราส่งมารับตู้
คอนเทนเนอร์แล้วเปิดตู้เอาสินค้าออกเอง
                3.FCL/FCL หรือ CY/CY หมายความว่า ที่ท่าต้นทางผู้ขนส่งจะรับตู้คอนเทนเนอร์ที่ผู้ส่งได้บรรจุสินค้า
ลงในตู้เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ส่งเพื่อนำลงเรือและทำการขนส่งไปยังท่าเรือปลายทาง เมื่อถึงปลายทางจะนำตู้คอน
เทนเนอร์ขึ้นจากเรือแล้วให้ผู้รับตราส่งไปเปิดขนถ่ายสินค้าจากตู้เอง
                4.FCL/LCL หรือ CY/CFH หมายความว่า ที่ท่าต้นทางผู้ขนส่งจะรับตู้คอนเทนเนอร์ที่ผู้ส่งของบรรจุ
สินค้าเรียบร้อยแล้วเพื่อนำลงเรือและขนส่งไปยังท่าเรือปลายทาง เมื่อถึงท่าเรือปลายทางจะนำตู้คอนเทนเนอร์ขึ้น
จากเรือ  ผู้ขนส่งจะเปิดตู้แล้วนำสินค้าเก็บไว้ในโกดังเพื่อให้ผู้รับตราส่งมารับสินค้าต่อไป


               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น