วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สูตรท่องจำตัวบทพยาน


            มาตรา ๘๔ ถ้าคู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างข้อเท็จจริง เพื่อสนับสนุนคำฟ้องคำให้การ หน้าที่นำสืบตกแกฝ่ายกล่าวอ้าง
            แต่ว่า () รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือ คู่ความอีกฝ่ายรับแล้ว
            () ถ้าข้อสันนิษฐานเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด พิสูจน์แต่เพียงว่าตนได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน
มาตรา ๘๘  เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงจะอ้างอิง…..เพื่อเป็นพยานหลักฐาน ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า วัน ซึ่งบัญชีระบุพยาน โดยแสดงเอกสารหรือสภาพ……พร้อมทั้งสำเนาจำนวนพอเพียง
            บัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ยื่นคำแถลงขอพร้อมบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม + สำเนาบัญชีได้ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันสืบพยาน
            เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณีสิ้นสุด ถ้าคู่ความที่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว มีเหตุแสดงว่า
            .ไม่ทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อ ..ของตน
            .ไม่ทราบว่าพยานบางอย่างได้มีอยู่ หรือ
            .มีเหตุอันสมควร
ถ้าคู่ความฝ่ายซึ่งไม่ได้ยื่นบัญชี แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า
            มีเหตุสมควร ไม่สามารถยื่นบัญชีได้
ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานพร้อมบัญชีระบุพยาน + สำเนาบัญชี ไม่ว่าเวลาใดๆก่อนพิพากษาคดี
            มาตรา ๘๙ มีหน้าที่นำพยานมาสืบภายหลัง ประสงค์สืบพยาน () เพื่อหักล้าง เปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อน ในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็น / () พิสูจน์ข้อความเกี่ยวด้วยการกระทำ ถ้อยคำ หนังสือซึ่งพยานได้กระทำขึ้น ให้ถามค้านพยานเช่นว่านั้นเสียในเวลาที่พยานเบิกความ
            ไม่ถามค้าน  ฝ่ายที่นำสืบก่อนคัดค้าน ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังพยานเช่นว่ามานั้น
            แต่ถ้าฝ่ายนำสืบหลังแสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่า ตนไม่รู้ / ไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงข้อความดังกล่าว / ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อปยแห่งความยุติธรรม ให้ศาลยอมรับฟังพยานเช่นว่านี้ แต่ฝ่ายที่นำสืบก่อนจะเรียกพยานมาสืบอีกก็ได้ /ศาลจะเรียกมาสืบเอง

            มาตรา ๙๐ คู่ความฝ่ายใดอ้างอิงพยานเอกสาร ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนา ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า วัน
            ในกรณีที่ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมตามมาตรา ๘๘ วรรคสอง หรือ วรรคสาม ให้ยื่นต่อศาลหรือส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาพร้อมกับการยื่นคำแถลงหรือคำร้อง เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ยื่นภายหลังเมื่อมีเหตุอัน
สมควร
            กรณีที่ไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น มีดังนี้
            () เอกสารเป็นชุดซึ่งคู่ความฝ่ายอื่นทราบดีหรือสามารถตรวจตราได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริง
            () เอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือบุคคลภายนอก
            () การคัดสำเนาทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้า เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิงเอกสาร
            กรณีตาม () หรือ () ให้ฝ่ายอ้างอิงทำคำร้องฝ่ายเดียวของดการยื่น และขอยื่นต้นฉบับแทน
            กรณีตาม () ฝ่ายอ้างอิงขอศาลให้มีคำสั่งเรียกเอกสารจากผู้ครอบครองตามมาตรา ๑๒๓
            มาตรา ๙๓ อ้างเอกสารเป็นพยานรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่
(๑)  ทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว
(๒) หาไม่ได้ เพราะ สูญหาย ถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น
(๓)  อยู่ในความควบคุมของทางราชการ
มาตรา ๙๔ ควรท่องจำทุกตัวอักษรเพื่อความประทับใจกรรมการ
มาตรา ๙๕ ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่
() เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบด้วยตนเองโดยตรง แต่ความข้อนี้ให้ใช้ได้เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่ง
โดยชัดแจ้งหรือคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น
            มาตรา ๙๗ อ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตน หรือ จะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้
            มาตรา ๑๐๐ ควรดูตัวบทเต็ม (เรื่องคู่ความถามตอบกันเองว่าจะรับรองข้อเท็จจริง)
            มาตรา ๑๐๑ บุคคลใดเกรงว่าพยานซึ่งตนอาจต้องอ้างอิงในภายหน้าจะสูญหาย ยากแก่การนำมา หรือ เกรงว่าพยานหลักฐานซึ่งตนจำนงจะอ้างอิงจะสูยหายเสียก่อนสืบ หรือยากที่จะนำสืบในภายหลัง ให้ยืนต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอสืบพยานนั้นไว้ทันที
            (ความในวรรคสาม) ในกรณีคู่ความฝ่ายหนึ่ง / บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาฯและยังมิได้เข้ามาในคดี ให้ศาลสั่งคำขอนั้นอย่างคำขออันอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว ถ้าศาลสั่งอนุญาตให้สืบพยานไปฝ่ายเดียว
            มาตรา ๑๒๓  คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีต้นฉบับเอกสารอยู่ในครอบครองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ส่งต้นฉบับต่อศาล ให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ยอมรับแล้ว
            ต้นฉบับเอกสารอยู่ในครอบครองบุคคลภายนอก หรือทางราชการ ซึ่งคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่อาจร้องขอโดยตรงให้ส่งเอกสารนั้นมาได้ ฝ่ายที่อ้างต้องส่งคำสั่งศาลแก่ผู้ครอบครองล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ถ้าไม่ได้มา ก็สืบพยานต่อไปตาม .๙๓ ()
            มาตรา ๑๒๕ ฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงพยานเอกสารยันตน อาจคัดค้านการสืบเอกสารนั้นว่า 1.ไม่มีต้นฉบับ 2.ต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน 3.สำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ โดยคัดค้านต่อศาลก่อนสืบพยานนั้นเสร็จ
            ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านมีเหตุอันสมควรไม่อาจทราบได้ก่อนสืบเอกสารนั้นเสร็จว่า 1.ต้นฉบับไม่มี 2.เอกสารนั้นปลอม 3.สำเนาไม่ถูกต้อง อาจยื่นคำร้องคัดค้านไม่ว่าเวลาใดก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นว่าไม่อาจยกข้อคัดค้านได้ก่อนนั้น และคำขอมีเหตุผลฟังได้ ให้ศาลอนุญาต
            ถ้าไม่คัดค้านก่อนสืบพยานเอกสารเสร็จ หรือ ศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลัง ห้ามคัดค้าน 1.การมีอยู่ 2.ความแท้จริง 3.ความถูกต้องแห่งสำเนา แต่ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะไต่สวนและชี้ขาด 1.การมีอยู่ 2.ความแท้จริง 3.ความถูกต้อง และไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะอ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
            มาตรา ๑๒๗ เอกสารมหาชน หรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น และเอกสารเอกชนที่มีคำพิพากษาแสดงว่า แท้จริงและถูกต้อง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ฝ่ายที่ถูกอ้างมายันนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้อง





ศัพท์กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

<ข้อมูลนี้สรุปมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายการค้าระหว่างประเทศจัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภา 2547 และ ติวสอบอัยการผู้ช่วยของนิติธนิต 2551 >
Incoterm 2000
Ex work
Term F
FAS:Free Alongside Ship (named port of shipment)  ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าเทียบข้างเรือที่ทำการขนส่งตามที่ผู้ซื้อกำหนด สถานที่ทำการขนถ่ายสินค้า
 ผู้ขายมีหน้าที่ขนส่งสินค้าผ่านพิธีการศุลกากรแล้วเทียบข้างเรือ ผู้ซื้อรับผิดชอบการขนขึ้น กรณีเรือสินค้ามี 
 ขนาดใหญ่ไม่อาจเทียบท่า ผู้ขายต้องจัดจ้างเรือลำเลียง
FCA:Free Carrier (named port of shipment)      หลักการสำคัญเหมือน FOB กล่าวคือ ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าผ่านพิธีการส่งออกเรียบร้อยแก่ผู้ซื้อแต่เปลี่ยนสถานที่ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่ง ณ จุดที่กำหนด ส่งมอบ ณ สถานที่ของผู้ขาย ๆ  มีหน้าที่ขนขึ้นหากส่งมอบที่อื่นผู้ขายไม่มีหน้าที่ขนลง ผู้ขายไม่มีหน้าที่ทำสัญญารับประกันภัย
หน้าที่ผู้ขายจะถือเป็นการส่งมอบเสร็จสมบูรณ์ และความเสี่ยงภัยจะโอนเมื่อส่งมอบเสร็จ
                1.ส่งมอบ ณ สถานที่ของผู้ขายสินค้าได้บรรทุกบนยานพาหนะซึ่งผู้ซื้อเตรียมมา
                2.ส่งมอบสินค้า ณ สถานที่อื่นๆ เมื่อสินค้านั่นตกอยู่ในเงื้อมมือของผู้ขนส่งหรือตัวแทนผู้ซื้อ
                3.สถานที่ส่งมอบหากสามารถส่งได้หลายจุดมิได้ระบุเจาะจ ส่ง ณ จุดที่ผู้ขายเลือกส่งมอบ
FOB : Free On Board            ความเสี่ยงภัยโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อสินค้าผ่านกาบเรือ ผู้ขายมีหน้าที่บรรทุกสินค้าขึ้นเรือที่ผู้ซื้อกำหนด ณ ท่าเรือที่กำหนดผู้ขายรับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวแก่สินค้าผ่านกาบเรือ รับภาระภาษีศุลกากรส่งออก
                FOB – Classic FOB contract ผู้ซื้อมีหน้าที่จัดหาเรือแต่ผู้ขายมีหน้าที่ทำสัญญารับขนสินค้ากับผู้ขนส่ง
Term C

CIF:Cost Insurance and Freight หน้าที่ผู้ขาย จัดหาประกัน , ส่งมอบสินค้า ,ทำสัญญารับขนสินค้าผ่านทางปกติไปยังท่าเรือปลายทาง , รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด , ถ้าผู้ซื้อร้องขอต้องจัดหาประกันภัยสำหรับภัยสงคราม การจราจล ,จัดหาใบอนุญาตส่งออก ,หน้าที่ผู้ขายสิ้นสุดลงเมื่อส่งมอบสินค้าลงเรือให้อยู่ในความครอบครองของผู้ขนส่งนับแต่นั้นกรรมสิทธิในสินค้าตกไปยังผู้ซื้อทันที ส่งมอบสินค้าโดยถูกต้องครบถ้วนเมื่อสินค้าได้ถูกนำข้ามพ้นกราบเรือ ณ ท่าเรือที่ส่งมอบสินค้า   ทั้ง CIF และ CFRผู้ขายมีหน้าที่เข้าทำสัญญาขนส่ง ในIncotermระบุว่าในการทำสัญญากับผู้ขนส่งหน้าที่ของผู้ขายคือจะต้องจัดให้ผู้ขนส่งสินค้าโดยเส้นทางปกติ
                หน้าที่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อจัดหาใบอนุญาตนำเข้า
                CIF afloat – การเสนอสินค้าที่บรรทุกลงเรือขณะเรือลอยลำในทะเล คู่สัญญาควรทำการตกลงโดยชัดแจ้งด้วยว่าจะให้ความเสี่ยงภัยโอนมายังผู้ซื้อเมื่อใด
                CIF and CC = Commission สัญญานี้ผู้ซื้อรับภาระในค่านายหน้าด้วยมักใช้กรณีผู้ขายเป็นนายหน้า
                CIF and EE – Exchange มีสองความหมายคือ 1.การรวมถึงค่าธรรมเนียมธนาคาร หรือ 2.การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนไปกระทบราคา
                CIF and II  - กรณีผู้ซื้อขอยืดเวลาชำระราคาออกไปต้องรับชำระดอกเบี้ย
CFR: Cost and Freight (named port of destination)  – สัญญาซื้อขายรวมค่าระวางขนส่งสินค้าจนถึงปลายทาง ผู้ขายมีหน้าที่จัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือปลายทางโดยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทำสัญญารับขนกับผู้ขนส่งด้วย แต่ไม่มีภาระในการจัดประกันภัยสินค้าซึ่งเป็นหน้าที่ผู้ซื้อ หน้าที่อื่นๆ อนึ่งความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อสินค้าข้ามพ้นกราบเรือเช่นเดียวกับ FOB และCIF
                การส่งมอบสินค้าถูกต้องครบถ้วนเมื่อสินค้าข้ามพ้นกราบเรือ ณ ท่าเรือที่ส่งสินค้า
CIP: Carriage and Insurance Paid to (named place of destination) ผู้ขายมีหน้าที่จัดหายานพาหนะในการขนส่งโดยค่าใช้จ่ายของตนเองและจัดหากรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายภาระความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อส่งมอบสินค้าที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งแต่ไม่ได้กำหนดความสมบูรณ์ของการส่งมอบเหมือน FCA กรณีมีผู้ขนส่งหลายรายให้ส่งแก่ผู้ขนส่งรายแรกแล้วสำหรับผู้ซื้อต้องรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการขนส่งและรับมอบสินค้าเมื่อถึงปลายทาง

CPT: Carriage Paid to (named place of destination) สัญญา CPT มีลักษณะเช่นเดียวกับ CFR คือผู้ขายมีหน้าที่จัดหาสินค้าและจัดส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่กำหนด โดยค่าใช้จ่ายของตนเองแต่ไม่ต้องจัดหากรมธรรม์ประกันภัย ส่วนกฎเกณฑ์ต่างๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับ CIP
                                ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ในการส่งมอบสินค้าครบเรียบร้อยเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่งที่ผู้ขายกำหนด แต่ผุ้ขายต้องเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางที่กำหนด ผู้ซื้อรับความเสี่ยงภัยและออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งแล้ว ผู้ขายมีหน้าที่ทำสัญญารับรับขนกับผู้ขนส่งจนถึงปลายทาง ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขาจยไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งที่ต้นทางยังไม่ต้องนำขึ้นบรรทุกลงเรือเพียงแต่ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของผู้ส่งเท่านั้น
Term D
                การซื้อขายในเทมอ D ทุกเทมอ ผู้ขายมีหน้าที่จัดหายานพาหนะและส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ณ ชายแดนหรือในประเทศของผู้ซื้อ
DES:Delivered Ex Ship (named port of destination) การซื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ขายมีหน้าที่ส่งอมอบสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อในขณะที่สินค้ายังคงอยู่ในระวางเรือ ณ ท่าเรือปลายทางซึ่งตามปกติใช้สำหรับการส่งสินค้านั้นโดยผู้ขายต้องรับภาระในค่าขนส่งสินค้า โดยผู้ขายรับภาระในค่าขนส่งสินค้า ส่วนผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าเมื่อสินค้านั้นได้ส่งมอบแก่ตนในเวลาและท่าเรือที่กำหนด และรับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขึ้นฝั่งรวมทั้งค่าภาษีนำเข้า
                                สัญญาDESไม่มีเอกสารเข้ามามีบทบาทในสัญญา แต่เป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องจัดหาใบสั่งปล่อยสินค้า(Delivery Order) และ/หรือเอกสารการขนส่งต่างๆให้แก่ผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถรับสินค้าจากผู้ขนส่ง ณ ท่าเรือปลายทางได้กรณีที่สินค้าสูญหายผู้ซื้อไม่มีหน้าที่ต้องชำระราคา การที่ผู้ขายส่งมอบใบตราส่งแก่ผู้ซื้อก็มิได้กระทำโดยเจตนาเพื่อให้กรรมสิทธิ์ในสินค้าโอนไปยังผู้ซื้อ กรรมสิทธิ์ในสินค้าและความเสี่ยงภัยจะโอนเมื่อได้มีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อเมื่อเรือมาถึงท่าที่กำหนดแล้ว ผู้ขายไม่มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยสินค้า และหากผู้ขายทำประกันภัยสินค้าเฉพาะผู้ขายเท่านั้นที่มีสิทธิดำเนินคดีกับผู้รับประกันภัยได้  วิธีการชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C)ไม่นำมาใช้ในการซื้อขายแบบ DES

DEQ:Delivered Ex Quay (named port of destination) ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อที่ท่าเรือปลายทางที่กำหนด ผู้ขายต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงภัยในการนำสินค้าไปยังท่าเรือปลายทางที่กำหนด ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการผ่านพิธีการทางศุลกากร และค่าภาษี อากร รวมทั้งค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อการนำสินค้าเข้าและรับภาระค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการขนส่งจากท่าเรือไปถึงจุดหมายปลายทางบนแผ่นดิน
DAF:Delivered At Frontier (named point at frontier) ผู้ขายมีหน้าที่จัดส่งสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ ณ ที่เพื่อส่งมอบสินค้าไว้ด้วย ผู้ขายมีหน้าที่จัดส่งสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ ณ ชายแดนที่กำหนด โดยไม่ต้องขนลงจากยานพาหฯและรับผิดในค่าภาษีและใบอนุญาตส่งออก ส่วนผู้ซื้อต้องรับมอบสินค้า ชำระราคา และรับภาระในค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนำเข้าและชำระภาษีขาเข้า กรรมสิทธิ์ในสินค้าและความเสี่ยงภัยโอนเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว แต่ในหนังสือรวมคำบรรยายเนติฯกล่าวว่า ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ณ จุดที่สินค้าผ่านพิธีการศุลกากรส่งออกแล้วนำรถบรรทุกไปจอดรอที่ด่านศุลกากรประเทศผู้ซื้อ
DDP:Delivered Duty Paid (named place of destination) ผู้ขายต้องรับภาระและความเสี่ยงภัยในตัวสินค้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งทั้งหมดจนกระทั่งได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ณ สถานที่ที่กำหนดโดยไม่ต้องขนลงจากยานพาหนะ รวมทั้งค่าภาษีนำเข้า ค่าขนส่งทางบกในประเทศของผู้ซื้อและการจัดหาใบอนุญาตนำเข้าด้วย ทั้งนี้เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ซื้อไม่มีหน้าที่ชำระราคาจนกว่าจะได้รับมอบสินค้า
                                หนังสือรวมคำบรรยายเนติฯกล่าวว่า DDP หมายถึงข้อตกลงในสัญญาซื้อขายที่ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ในการส่งมอบสินค้าโดยครบถ้วนเรียบร้อยเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อโดยผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อการนำเข้าแล้วแต่ยังไม่ขนถ่ายสินค้าออกจากยานพาหนะที่ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทาง ณ สถานที่ในประเทศของผู้ซื้อผู้ขายต้องรับผิดชอบออกจากค่าใช้จ่ายแลรับความเสี่ยงภัยในการดำเนินการนำสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางรวมทั้งค่าอากรเพื่อการนำเข้าประเทศปลายทาง จะเห็นได้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ขนส่งสินค้าตั้งแต่ต้นทางดำเนินพิธีการศุลกากรในประเทศผู้ขายอาจจะข้ามน้ำข้ามทะเลหรือขนส่งโดยรถบรรทุกก็ได้หรืออาจใช้ยานพาหนะที่ขนส่งตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไป(Multimodal Transport) จนถึงโรงงานหรือสถานที่ของผู้ซื้อโดยที่ไม่ต้องขนถ่ายสินค้าออกจากยานพาหนะ ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ณ จุดที่ยานพาหนะมาถึงหน้าโรงงานหรือสถานที่ของผู้ซื้อ
DDU:Delivered Duty Unpaid (named place of destination) ผู้ซื้อและผู้ขายมีหน้าที่เช่นเดียวกับ DDP ยกเว้นภาระหน้าที่ในการจัดการนำสินค้าเข้ารวมทั้งค่าภาษีตกเป็นของผู้ซื้อ







Term
ความเสี่ยงภัยและการส่งมอบ
หน้าที่ผู้ซื้อ
หน้าที่ผู้ขาย
F
FAS

สินค้าเทียบข้างเรือที่ผู้ซื้อกำหนด


FCA
ส่งมอบแก่ผู้ขนส่ง ณ จุดที่กำหนด


FOB
ข้ามพ้นกราบเรือ


C
CIF

ข้ามพ้นกราบเรือ


CFR
ข้ามพ้นกราบเรือ


CIP
ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในความดูแลผู้ขนส่ง


CPT
ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งโดยยังไม่ต้องบรรทุกของลงเรือ


D
DES

ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อเมื่อเรือมาถึงท่าที่กำหนดโดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าออกจากเรือ


DEQ
ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อที่ท่าปลายทางที่กำหนดโดยสินค้ายังไม่ต้องผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้าแต่ได้ขนถ่ายลงที่ท่าเรือปลายทางแล้ว


DAF
ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ  ณ จุดทิ่สินค้าผ่านพิธีการศุลกากรส่งออกแล้วนำรถบรรทุกไปจอดรอที่ด่านศุลกากรผู้ซื้อ


DDP
ผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อการนำสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางรวมทั้งค่าอากรเพื่อการนำเข้าประเทศปลายทาง


DDU








ข้อตกลงระหว่างผู้ส่งกับผู้ขนส่งอาจเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
1.LCL/LCL หรือ CFH/CFH หมายความว่า ที่ท่าเรือต้นทางผู้ขนส่งจะนำสินค้า มาบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์เอง จากนั้นจะทำการส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปยังจุดหมายปลายทาง เมื่อถึงท่าเรือปลายทางผู้ขนส่งจะนำตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นจากเรือ และเปิดตู้คอนเทนเนอร์นำสินค้าเข้าเก็บไว้ในโกดังสินค้าเพื่อรอให้ผู้รับตราส่งมารับของ
                2.LCL/FCL หรือ CFH/CY หมายความว่า ที่ท่าเรือต้นทางผู้ขนส่งจะนำสินค้าไปบรรจุที่ตู้คอนเทนเนอร์
และส่งของไปท่าเรือปลายทาง เมื่อถึงท่าเรือปลายทางจะขนตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นจากเรือและให้ผู้รับตราส่งมารับตู้
คอนเทนเนอร์แล้วเปิดตู้เอาสินค้าออกเอง
                3.FCL/FCL หรือ CY/CY หมายความว่า ที่ท่าต้นทางผู้ขนส่งจะรับตู้คอนเทนเนอร์ที่ผู้ส่งได้บรรจุสินค้า
ลงในตู้เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ส่งเพื่อนำลงเรือและทำการขนส่งไปยังท่าเรือปลายทาง เมื่อถึงปลายทางจะนำตู้คอน
เทนเนอร์ขึ้นจากเรือแล้วให้ผู้รับตราส่งไปเปิดขนถ่ายสินค้าจากตู้เอง
                4.FCL/LCL หรือ CY/CFH หมายความว่า ที่ท่าต้นทางผู้ขนส่งจะรับตู้คอนเทนเนอร์ที่ผู้ส่งของบรรจุ
สินค้าเรียบร้อยแล้วเพื่อนำลงเรือและขนส่งไปยังท่าเรือปลายทาง เมื่อถึงท่าเรือปลายทางจะนำตู้คอนเทนเนอร์ขึ้น
จากเรือ  ผู้ขนส่งจะเปิดตู้แล้วนำสินค้าเก็บไว้ในโกดังเพื่อให้ผู้รับตราส่งมารับสินค้าต่อไป