วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทำไมต้องมีนิติบุคคล

ตามความเป็นจริงแล้ว การทำนิติกรรม หรือธุรกรรมใดๆเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์หรือบุคคลตามธรรมดา นิติบุคคลไม่สามารถกระทำอะไรได้เลยถ้ามนุษย์ไม่ได้กระทำให้ มนุษย์สร้างกฎหมายขึ้นมาแล้วอ้างอำนาจของกฎหมายมาสมมุติว่ามีนิติบุคคลเป็นบุคคลแยกต่างหากจากมนุษย์ และใช้นิติบุคคลนั้นเป็นเครื่องมือในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่กำหนดไว้นั้น กฎหมาย ถือว่า นิติบุคคลมีสภาพบุคคลเสมือนบุคคลธรรมดา กล่าวคือ มีสิทธิหน้าที่และความรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น[1]  กฎหมายให้สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลเพราะต้องการเน้นที่ตัวองค์กรมากกว่าคณะบุคคลผู้บริหาร เจ้าของ หรือ สมาชิกของนิติบุคคลนั้น นิติบุคคลถูกนำมาใช้เพื่อการแยกความเป็นเจ้าของและการเป็นผู้บริหารงานงานออกจากกันและแยกการจัดระบบทรัพย์สินออกจากบุคคลธรรมดา เช่น บริษัทมีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของแต่ไม่ใช่ผู้บริหาร ผู้บริหารบริษัทคือกรรมการบริษัท
ประเภทของนิติบุคคลนั้นอาจแบ่งได้ดังนี้
1.นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน เช่น สมาคม มูลนิธิ ,ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน , ห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด เป็นต้น
2.นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน เช่น กระทรวง ,ทบวง ,กรม เป็นต้น
3.นิติบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น รัฐ ,WTO ,องค์กรระหว่างประเทศ ฯลฯ


[1] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 67

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

What is Civil Procedure?

What is Civil Procedure?
Like all law, the law of civil procedure can be seen as a series of expedients to influence, punish, reward and authoritatively explain human behaviour. Perhaps the reason that beginning students sometime find civil procedure especially difficult is that it is preoccupied with litigation behaviour, and students come to the course with little sense of what litigation is.
Litigation is often described as a game. Litigants are like players and judges like umpire. The litigation game is remorselessly competitive and is often thought to have winners and losers. Its rules, like those of many other games, are difficult to understand in the abstract. They are given life and meaning by the experience of the game itself. Thus the more we understand the phenomenon of civil litigation, the easier it will be to understand civil procedure.
Litigation differs from most games, however, in at least two important respects. First most games exist for the pleasure they give to participants or spectators. So long as they are relatively harmless, they are not difficult to justify. In contrast, the litigation game carries a heavy burden of justification. The game may impose onerous costs upon the parties, the court and the public, and frequently has only one enthusiastic player-the plaintiff.
Civil procedure cases and problems can therefore appropriately be considered from the perspective of cost control or resource allocation. Could the factual dispute between the parties have been resolved by any means that would have eliminated the need for litigation? Should particular tactics employed by litigants be viewed as legitimate procedural means to substantive ends, or unreasonably burdensome means that are disproportionate to the ends? What should the balance be between litigant autonomy and judicial control?
Inquiry about the most appropriate use of judicial resources also requires a developing appreciation of the different roles trial and appellate courts play. The law of civil procedure recognizes that some issues resolve by trial judges should rarely, if ever, be reviewed, because appellate courts have an inferior vantage point.....[1]
คำแปล
วิธีพิจารณาความแพ่งคืออะไร?
เหมือนกับกฎหมายอื่นๆ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสามารถมองได้ว่า เป็นชุดตัวเร่งที่จะบังคับ ลงโทษ ให้รางวัลและเป็นการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์โดยใช้อำนาจ บางทีเหตุผลที่นักศึกษาที่เพิ่งเริ่มเรียนพบว่าวิธีพิจารณาความแพ่งนั่นเพราะมันครอบคลุมพฤติกรรมของการว่าความและนักศึกษาเข้ามาในชั้นเรียนด้วยความรู้ที่น้อยว่าการว่าความคืออะไร
การว่าความถูกอธิบายเสมอว่าเป็นเกมส์ คู่ความเหมือนผู้เล่นและผู้พิพากษาก็เหมือนกรรมการ เกมส์คดีความเป็นการแข่งขันอย่างไร้ยางอายและคิดแต่จะเอาผู้ชนะและผู้แพ้เสมอ กติกาเหมือนกติกาของเกมส์ทั้งหลาย มันมีจุดที่ยากที่จะเข้าใจในนามธรรม การว่าความจะมีชีวิตและความหมายต้องมีประสบการณ์ในเกมส์นั้นเอง ดังนั้น ถ้ายิ่งเราเข้าใจสภาพการณ์ของคดีแพ่ง การเข้าใจกระบวนพิจารณาความแพ่งก็ยิ่งง่ายขึ้น
การว่าความแตกต่างจากเกมส์ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามอย่างน้อย ในสองแง่มุมที่สำคัญ ประการแรก เกมส์ส่วนใหญ่มีขึ้นเพื่อความสุขของผู้เล่นหรือของผู้ชมเพราะฉะนั้นมันจึงไม่อันตราย มันจึงไม่ยากที่จะชี้ขาด ในทางตรงกันข้าม เกมส์คดีความแบกภาระการตัดสินชี้ขาดถูกผิด เกมส์ว่าความมีค่าใช้จ่ายอย่างมากต่อคู่ความ ต่อศาล และต่อสังคม และผู้เล่นคนเดียวเท่านั้นทีกระตือรือล้นอยู่เสมอนั่นคือ โจทก์
ดังนั้น วิธีพิจารณาความแพ่งและปัญหาสามารถพิจารณาจากมุมมองของการควบคุมค่าใช้จ่าย หรือ การจัดหาปัจจัย  การโต้แย้งที่แท้จริงระหว่างคู่ความสามารถแก้ไขโดยเครื่องมือใดก็ได้ซึ่งขจัดการขึ้นโรงขึ้นศาลได้หรือไม่ เราจะยอมรรับเล่ห์กลว่าเป็นวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาที่บรรลุเป้าหมายที่เป็นสาระสำคัญ หรือ สร้างภาระที่ไม่ได้สัดส่วนกับเป้าหมาย ได้หรือไม่ ความสมดุลระหว่างอิสระของผู้ว่าคดีกับการควบคุมกระบวนการยุติธรรมคืออะไร....



[1] Gene R Shreve and Peter Raven-Hansen, Understanding Civil Procedure(3 rd edn,Lexis Nexis)(Mathew Bender & Co.,Inc)

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เปรียบเทียบศัพท์กฎหมายอาญาไทยและอเมริกันฐานฆ่าคน

Manslaughter = ฆ่าผู้อื่นโดยไม่มีการไตร่ตรองไว้ก่อน แบ่งเป็น 2 ประเภท
Voluntary manslaughter = ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาที่เกิดขึ้นทันทีทันใดโดยอารมณ์โกรธ
Involuntary manslaughter=ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยประมาท
Murder =ความผิดฐานเป็นฆาตกร ถูกแบ่ง 2 ประเภท
First degree murder =ความผิดฐานอาชญากรอันดับต้น เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน รัฐส่วนใหญ่จะยึดติดกับแนวคิดที่เรียกว่า หลักเกณฑ์ฆาตกรรม (felony murder rule)ซึ่งรวมความตายที่เกิดขึ้นจาก การวางเพลิง บุกเข้าไปลักทรัพย์ในอาคาร ลักพาตัว ข่มขืน และ ชิงทรัพย์[1]
Second degree murder=ความผิดฐานอาชญากรอันดับรอง คือ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาแต่ไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน และไม่ได้ฆ่าโดยอารมณ์โกรธ หรือ พฤติกรรมที่ก่ออันตรายโดยไม่คำนึงถึงชีวิตของผู้อื่น ความผิดฐานอาชกรอันดับรองอยู่ระหว่าง ความผิดฐานอาชญากรอันดับต้น (first degree murder)กับ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาที่เกิดขึ้นทันทีทันใดโดยอารมณ์โกรธ(Voluntary manslaughter)[2]
มีผู้บัญญัติศัพท์แบ่งการฆ่าคนตามกฎหมายไทยไว้ดังนี้[3]
Murder =ฆ่าผู้อื่น
Negligent murder=ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
Manslaughter=ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย


[1] http://criminal.findlaw.com/crimes/a-z/murder_first_degree.html
[2] http://criminal.findlaw.com/crimes/a-z/murder_second_degree.html
[3] Kanok Jullamon,ดุลพาห 2549,Homicide-Provocation and Extreme Emotional Disturbance:The US and Thai Approach:A Comparative Study,p.103

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

[ถอดเทป อาจารย์ทองธาร เหลืองเรืองรอง ผู้บรรยายเนติบัณฑิต ภาค 2 ป.วิ.พ.  ปี 2553 สมัย 63]
ผลของการทิ้งฟ้องอยู่ในมาตรา 174 ผลของมันอยู่ที่มาตรา 176, 132 ให้อำนาจศาลสั่งจำหน่ายคดี, 246ในชั้นอุทธรณ์มีการนำเรื่องทิ้งฟ้องมาใช้ในชั้นอุทธรณ์, 247 ทิ้งฟ้องในชั้นฎีกาก็นำบทบัญญัติเรื่องทิ้งฟ้องมาใช้
มาตรา 174 บัญญัติการทิ้งฟ้องไว้ 2 กรณีคือ
1.โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ตราบใดที่ส่งหมายให้จำเลยไม่ได้คดีจะไม่ก้าวหน้า
ในทางปฏิบัติโจทก์จะวางค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่จะไม่ไปนำส่งหมายกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจมีปัญหาถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สามารถนำส่งให้จำเลยได้ เพราะเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อศาลว่าไม่สามารถนำส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยได้ ศาลจะสั่งว่าให้รอโจทก์แถลงว่าโจทก์จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร(ศาลสั่งให้โจทก์มาแถลงภายในกำหนด5วันนับแต่วันส่งไม่ได้) เมื่อโจทก์ไม่ได้ไปนำส่งหมายเรียกให้จำเลยพร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะไม่ทราบว่าส่งหมายไม่ได้ โจทก์เลยไม่ได้มาแถลงว่าส่งไม่ได้แล้วจะแก้ไขอย่างไร แต่กฎหมายถือว่าโจทก์ต้องทราบ จึงเป็นเหตุให้โจทก์ทิ้งฟ้องตามมาตรา 174 (2)
ในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา โจทก์อุทธรณ์หรือโจทก์ฎีกา (โจทก์หรือจำเลยที่แพ้ในศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ และอุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือ ศาลอุทธรณ์) ศาลรับอุทธรณ์หรือรับฎีกา และจะสั่งให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกานำส่งสำเนาอุทธรณ์หรือสำเนาฎีกา (ในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาไม่มีการออกหมายเรียก จึงไม่มีนำส่งหมายเรียก อย่างมากที่สุดจะออกเป็นหมายนัด) เพื่อให้อีกฝ่ายได้รู้ว่าฝ่ายที่แพ้เขายื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หากฝ่ายที่ชนะประสงค์จะยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือคำแก้ฎีกา ก็ให้ยื่นคำแก้ฎีกาภายใน 15 วันนับแต่ได้รับสำเนาอุทธรณ์หรือสำเนาฎีกา ถ้าผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาไม่มีมาติดต่อให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์หรือฎีกา ตามมาตรา 174 (1) แต่เป็นการทิ้งฟ้อง ตามมาตรา 174(2)
การยื่นคำฟ้องแบบที่มีการออกหมายเรียก 174(1)
1.ยื่นคำฟ้องในศาลชั้นต้น
2.จำเลยที่ฟ้องแย้งมาในคำให้การ
3.คดีร้องขัดทรัพย์ เพราะว่าผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ ศาลที่รับคำร้องขัดทรัพย์ออกหมายเรียกไปยังเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยในคดีร้องขัดทรัพย์ให้มาแก้คดีเพราะกระบวนพิจารณาร้องขัดทรัพย์ มาตรา 288 ให้ดำเนินคดีอย่างธรรมดา ถ้าผู้ร้องขัดทรัพย์ไม่มาร้องขอให้มีการส่งหมายเรียกภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ตนยื่นคำฟ้องเหล่านั้นได้ชื่อว่าทิ้งฟ้อง ศาลก็สั่งจำหน่ายคดีได้
มาตรา 174 (2) การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีมีกรณีใดบ้าง หน้าที่ของโจทก์
1.เมื่อยื่นฟ้อง โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือเสียไม่ครบ เพราะศาลสามารถสั่งให้เอาค่าธรรมเนียมมาเสียให้ครบตามมาตรา 18 ถ้าโจทก์ไม่ยอมเสียค่าธรรมเนียม ศาลจะสั่งไม่รับฟ้อง แต่หากศาลพลั้งเผลอสั่งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมไม่ครบ ศาลก็จะบังคับให้มาเสียโดยใช้มาตรการเรื่องทิ้งฟ้อง
2.กรณีส่งหมายเรียกให้จำเลยไม่ได้ เช่น ที่อยู่ผิด โจทก์ต้องแถลงว่าที่ส่งไม่ได้เพราะอะไร และจะแก้ไขอย่างไรต่อไป ถ้าที่อยู่ไม่ผิดโจทก์ต้องมายืนยัน ศาลจึงจะสั่งปิดหมาย ทางปฏิบัติ ศาลจะสั่งว่า หากส่งไม่ได้ให้โจทก์มาแถลงภายในห้าวันนับจากวันที่ส่งไม่ได้ หากโจทก์ไม่มาแถลงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องวิธีป้องกันความผิดพลาดต้องคอยตามผลกับเจ้าหน้าที่
3.การไม่นำส่งหรือการไม่แถลงในเรื่องของคำฟ้อง คำร้องขอถอนฟ้อง ศาลจะให้โจทก์ส่งคำร้องไปยังจำเลย ถ้าเพิกเฉยในกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องการทิ้งฟ้อง แต่ศาลจะถือว่าโจทก์ไม่ติดใจขอถอนฟ้อง หรือโจทก์ยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล การไม่นำส่งสำเนาคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลยเป็นเพียงไม่ติดใจขอยกเว้นค่าธรรมเนียมซึ่งศาลจะยกคำร้อง เพราะคำร้องเหล่านี้ไม่ใช่คำคู่ความเหมือนคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกา
กรณีคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ถ้ามีเหตุที่ศาลจะงดคดีแพ่งไว้ก่อนเพื่อรอผลคดีอาญา ศาลมักจะสั่งโจทก์ว่าถ้าคดีอาญาพิพากษาแล้วให้โจทก์แถลงผลเพื่อศาลจะได้นำคดีแพ่งมาพิจารณาต่อไป การที่ศาลสั่งให้โจทก์พอรู้ผลคดีอาญาให้มาแถลงในห้าวันนับแต่คดีอาญามีคำพิพากษา
กรณีที่ให้โจทก์ไปร่วมชี้เพื่อทำแผนที่พิพาท ศาลไม่ได้เปิดช่องเลือกปฎิบัติ ผู้พิพากษาบางท่านเปิดทางเลือกให้โจทก์ว่า ถ้าไม่ไปถือว่าไม่ติดใจถือว่ายอมรับความถูกต้องของแผนที่นั้น
แต่การไม่ดำเนินการบางเรื่องที่มีกฎหมายเฉพาะเช่น ในวันสืบพยาน โจทก์ไม่ไปศาลถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ผลก็คือถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ใช้เรื่องทิ้งฟ้อง
เรื่องชี้สองสถาน กฎหมายบัญญัติให้ศาลชี้สองสถานลับหลังโจทก์ได้ไม่เป็นเหตุอุปสรรคให้คดีหยุดนิ่งอยู่กับที่ ถือว่าโจทก์ได้ทราบโดยชอบแล้ว
การไม่ดำเนินการซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ทิ้งฟ้องจนศาลต้องสั่งให้จำหน่ายคดีต้องมีองค์ประกอบดังนี้
1.ศาลได้มีคำสั่งสั่งโจทก์แล้ว การสั่งต้องโดยมีอำนาจ เช่น การสั่งให้ถอนฟ้องในบางข้อหาเพราะฟ้องฟุ้มเฟือย การถอนฟ้องเป็นสิทธิไม่ใช่หน้าที่สั่งไม่ได้ แต่ถ้าโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าถ้าจำเลยใช้หนี้ครบเมื่อไหร่โจทก์จะถอนฟ้อง อันนี้เป็นหน้าที่แล้วครับ ในเมื่อจำเลยผ่อนใช้หนี้ให้โจทก์ครบแล้ว ก็เกิดหน้าที่แก่โจทก์ๆไม่ถอนฟ้อง เช่นนี้ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีเป็นทิ้งฟ้อง
ทำนองเดียวกัน การส่งสำเนาอุทธรณ์ในคดีอาญา มาตรา 200 แทนที่ศาลจะสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปส่งเอง ศาลสั่งให้โจทก์นำส่ง ถ้าโจทก์ไม่นำส่งจะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้ เพราะ กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้ศาลมีหน้าที่ในการส่ง
2.ต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว บางกรณีโจทก์ไม่มาดำเนินการตามคำสั่ง จริงๆไม่รู้แต่ทางกฎหมายถือว่ารู้ สถานการณ์ใดถือว่าทราบมี 3 แบบ
2.1 แจ้งคำสั่งขณะที่ศาลออกนั่งพิจารณา แสดงว่าคดีนั้นต้องมีวันนัดแล้วศาลรอไว้สั่งในวันนัด พอถึงวันนัดคู่ความมาศาลๆมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาเช่น ในวันนัดศาลบอกว่าสืบพยานโจทก์เสร็จหนึ่งปาก โจทก์ขอเลื่อนไปสืบในนัดต่อไป อนึ่ง ตรวจสำนวนแล้วพบว่าโจทก์เสียค่าธรรมเนียมขาดไปสองพันบาท จึงให้โจทก์มาวางศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันนี้ โจทก์ได้ลงชื่อในกระบวนพิจารณา ถือว่าโจทก์ทราบแล้วไม่มีข้อแก้ตัว กรณีที่ตัวโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาในวันนัดแต่ผู้รับมอบฉันทะหรือเสมียนมาแทนเช่นมาเพื่อฟังคำสั่งอย่างใดๆ มาเพื่อขอเลื่อนคดี มาเพื่อมายื่นคำร้องคำขออย่างใดๆ แล้วแต่ว่าตัวความหรือทนายความมอบอำนาจ พอถึงวันนัด ศาลออกคำสั่งอย่างใดๆให้โจทก์ปฏิบัติโดยให้ศาลเซ็นทราบคำสั่งนั้นแล้วจะถือว่าโจทก์ทราบไหม กรณีนี้ต้องดูว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจตามที่รับมอบฉันทะหรือไม่ ถ้าทำนอกอำนาจไม่ถือว่าโจทก์ทราบ
2.2 สั่งลับหลัง คือ แจ้งโดยการออกหมาย เราเรียกว่าหมายแจ้ง แต่ความจริงใช้แบบพิมพ์หมายนัด สั่งให้เจ้าหน้าที่เอาไปส่งภายในเท่านั้นเท่านี้วัน ต้องใช้หลักเกณฑ์ในมาตรา 74 และ มาตรา 79
2.3 กรณีคู่ความมายื่นสิ่งใดเพื่อให้ศาลสั่ง คู่ความมีหน้าที่ต้องมาตาม คำฟ้องหน้าสุดท้ายพิมพ์ว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าข้าพเจ้าไม่รอให้ถือว่าทราบ ซึ่งศาลจะสั่งรับและสั่งอย่างอื่นไปด้วย เช่นให้โจทก์ส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเจ็ดวัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลง การแจ้งมีข้อจำกัดว่า ถ้าศาลสั่งในวันเดียวกับที่เรารอก็ผูกพันเรา แต่หากศาลสั่งคนละวันกับวันที่ยื่นไม่อาจถือว่าผู้ยื่นได้ทราบ ถ้าศาลสั่งวันอื่นศาลต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ทางแก้สำหรับศาลที่มีคดีมาก ก็จะมีตราประทับโดยมีข้อความว่า ข้าพเจ้าผู้ยื่นจะมาทราบในวันที่ 5 มกราคม ถ้าไม่มาถือว่าทราบ แปลว่าผู้ยื่นต้องมารอถึงห้าวัน แต่ถ้าศาลสั่งหลังวันที่5 ก็ไม่ผูกพันเรา ก็เลยมีตราประทับว่าข้าพเจ้าจะมาติดตามฟังคำสั่งทุกๆเจ็ดวัน หากไม่มาถือว่าข้าพเจ้าทราบ
3.โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งในเวลาที่ศาลกำหนด แต่ถ้าไม่ดำเนินการโดยเหตุสุดวิสัยไม่ใช่การเพิกเฉย 

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Conflict on Online Social Network


In the present, the telecommunication is enhanced by internet, the facebook[1] is the popular method where you can show the picture, wish well, chat or e mail .We can contact to each other around the world without cost. It heighten the fellowship on the other hand, it can be used as the weapon to impute someone. Furthermore if you discriminate to treat some friends, they perhaps disappoint in you.


[1] In this essay ,the meaning of “facebook “ include hi5,google plus or others methods which have the same character.

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Comment la Constitution 2540 protège-t-elle la liberté du people?


En Thaïlande à l’ année dernière[1],il y a en un litige intéressant .C’est un étudiant de Chulalongkorn Université attrapé en étant donné qu’il avait une droque sans raison la police l’a vérifié ,l’a battu et l’a attaché avec le pilier en face du faculté de droit.Donc on pose un question:Comment la Constitution 2540 protège-t-elle la liberté du people?
D’abord,on doit compredre que en principe,l’individu ne peut que referrer la Constitution à l’état ou aux organisations d’ état ou aux officiers;l’individu ne peut pas referrer la Constitution à l’individu sauf quelque cas.
D’après le préambule paragraphe 1, nous voyons que la police ne respect pas la liberté du people.Il ne doit pas le battre et l’attacher en public. Il doit se depècher de l’emmener au commissariat de police. L’action de la police est contraire la Constitution Article 26 “Toutes les organisation,d’état doit respecter l’honneur humaine,le droit et la liberté après la Constitution.”et Article 31 “L’individu a les droits et la liberté de sa vie et de sa corps”et Article 31 paragraph 3”Il est interdit absolument de attaper,de séquestrer ou faire porter les atteintes au droit et à la liberté selon paragraphe 1 sauf disposer de la force d’autre loi.”Malgré que la Constitution oblige de respecter l’honneur humaine,les droit et la liberté aux organisations d’état et officiers,quelquefois en pratique,il exceed son pouvoir.C’est parceque le people ne sait pas la Constitution.
En fin, je crois que si on apprend les droits et la liberté d’après Constitution au people et si le gouvernement résout sérieusement ce problem,la liberté et le droits du people seront respectés de plus en plus.


[1] B.E.2544

Comment se situe l’Ētat face au pouvoir européen?


Les Ētats members doivent accepter la supériorité du droit communautaire. Quel que soit le texte interne qui déroge ou abroge le droit communautaire,il n’est pas possible d’utiliser le texte interne.Il ne faut pas promulguer un texte contraire à ce droit-ci. Chaque Ētats member reconnaîtrai ce principe.Certains l’ont meme inscrit expressément dans leur ordre juridique national
En théorie , un Ētat member ne peut pas inscrire un ordre juridique,national qui s’ oppose au droit communautaire. Un texte de droit national qui enfreint le droit communautaire sera annulé.

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Serait-il possible de vivre dans une société sans droit ?


Au début , on doit comprendre la definition de ”droit”.Qu’est-ce que le droit? Le droit :Ce sont des règles de la  société que l’état produit pour obliger les citoyens.Qui transgresse ,sera puni.

On ne peut pas vivre sans droit puisque l’homme est un animal social. On veut des règles pour organiser la société,assurer la sécurité de la vie en société et de la liberté etc. Si l’on vivait ensemble sans droit,on aurait beaucoup de problems. Par example : si l’on conduisait sans le droit de la circulation.Les uns choisiraient la gauche,les autres choisiraient la droite.Personne ne ferait attention au feu rouge.Il y aurait beaucoup d’accidents.On ne peut pas finallement conduire ou encore example: si le droit ne limitait pas la liberté individuelle,on peut-être transgresserais la liberté d’autrui: A  a le droit de jouer de la musique.Mais si ça derange B. B peut appeler la police pour faire cesser A .
Conclusion
C’est impossible de vivre sans droit .Puisque dans la société,il y a les hommes bons et les mauvais hommes.